ด้านสิ่งแวดล้อม

แนวทางการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

พีดีไอมีจุดหมายและความมุ่งมั่นเป็นผู้นำการพัฒนา ขับเคลื่อนและเติบโตในธุรกิจที่ด้านพลังงานทดแทน ด้านวัสดุและด้านบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนในทุกๆ ด้าน อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ และใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดมาใช้ในโครงการธุรกิจใหม่เพื่อปกป้อง ลดผลกระทบและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

ปี 2560  พีดีไอได้ยุติธุรกิจสังกะสีในกระบวนการผลิตแบบเดิมที่ดำเนินการมาเป็นระยะเวลากว่า 33  ปี บริษัทฯ จึงได้มีการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการยุติธุรกิจสังกะสี โดยได้ดำเนินการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมและเป็นไปตามกฎระเบียบของราชการ ซึ่งพีดีไอมั่นใจว่า การยุติการผลิตสังกะสีในกระบวนการผลิตแบบเดิมจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรอบข้างในทุกพื้นที่ปฏิบัติการของพีดีไอ อันเป็นผลจากการดำเนินงานตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดในทุกพื้นที่ พร้อมทั้งมีการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง

ในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการติดตามและประเมินผลคุณภาพดิน  น้ำและอากาศ รวมทั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการจัดการของเสียให้เป็นไปตามเกณฑ์ทั้งด้านเทคนิคและมาตรฐานการประเมินผลซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง

คุณภาพอากาศที่ปล่องควัน

ปล่องควัน​สำนักงานพารามิเตอร์หน่วยมาตรฐานผลตรวจวัดปี 2560
กระบวนการผลิตกรดกำมะถันพีดีไอ-ตากก๊าซชัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)ส่วนในล้านส่วนไม่เกิน 500251
เตาหลอมโลหะสังกะสี พีดีไอ-ตากฝุ่นรวมทั้งหมด (Total suspended particulate)มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรไม่เกิน 400101

หมายเหตุ : ตรวจวัดโดย บริษัท บริษัท เอส.พี.เอส. คอนซัลติ้ง เซอร์วิส จำกัด

คุณภาพอากาศในบรรยากาศ

พารามิเตอร์สำนักงานหน่วยมาตรฐานผลตรวจวัดปี 2560
ก๊าซชัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)พีดีไอ-ตากมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรไม่เกิน 0.300.011
ฝุ่นรวมทั้งหมด(TSP)พีดีไอ-ตากมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรไม่เกิน 0.330.0441
ฝุ่นรวมทั้งหมด(TSP)พีดีไอ-แม่สอดมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรไม่เกิน 0.330.036-0.155
ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า10 ไมครอน(PM-10)พีดีไอ-แม่สอดมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรไม่เกิน 0.120.016-0.072

หมายเหตุ : 1. มาตรฐานก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศ เฉลี่ย 24 ชั่วโมง

พารามิเตอร์​​หน่วยมาตราฐานพีดีไอ-ตาก
ความเป็นกรด ด่าง (pH)-5.5 - 97.56
สังกะสี (Zn)มิลลิกรัมต่อลิตรไม่เกิน 50.12
แคดเมียม (Cd)มิลลิกรัมต่อลิตรไม่เกิน 0.030.004
แมงกานีส (Mn)มิลลิกรัมต่อลิตรไม่เกิน 50.33
ตะกั่ว (Pb)มิลลิกรัมต่อลิตรไม่เกิน 0.20.0006
อาร์เซนิก (As)มิลลิกรัมต่อลิตรไม่เกิน 0.250.0003
ปรอท (Hg)มิลลิกรัมต่อลิตรไม่เกิน 0.0050.0005

หมายเหตุ              1) มาตรฐานก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศ เฉลี่ย 24 ชั่วโมง

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

การระบายก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่ของพีดีไอเกิดจากการใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากเชื้อเพลิงต่างๆ ในกระบวนการถลุงโลหะสังกะสี ในปี 2560 พีดีไอปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 63,374  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ลดลงมากร้อยละ  71  จากปี 2559 จำนวน 156,155   ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เนื่องจากในปีที่ผ่านมาพีดีไอใช้พลังงานรวมทั้งสิ้นเพียง 393,687  กิกะจูลโดยเป็นพลังงานไฟฟ้า 372,859  กิกะจูล และพลังงานความร้อนจากเชื้อเพลิง 20,828 กิกะจูล  ลดลงจากปี 2559 จำนวน 1,163,260  กิกะจูล หรือลดลงร้อยละ 75 โดยโรงงานตากได้หยุดการผลิตตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560

 การใช้น้ำ

พีดีไอมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยลดการสูญเสียและนำกลับมาใช้ใหม่ ในปี 2560 พีดีไอมีปริมาณการใช้น้ำในโรงงานรวม 0.81 ล้านลูกบาศก์เมตร  ประมาณร้อยละ 50 มีการนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ในกระบวนการผลิตและในพื้นที่อื่นๆ         ส่วนการบริหารจัดการน้ำของเหมืองแม่สอดจะเป็นการจัดการน้ำฝนที่ไหลผ่านพื้นที่ที่ยุติกิจกรรมทำเหมืองแร่และได้ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมแล้วเป็นหลัก

คุณภาพน้ำของโรงงาน

น้ำทิ้งที่บำบัดแล้วจะผ่านการตรวจสอบคุณภาพให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ดังแสดงในตาราง

พารามิเตอร์หน่วยมาตรฐาน1จุดระบายน้ำ
A4B3C12D3
ความเป็นกรด ด่าง (pH)-5.5 - 9-7.83 - 8.48-7.64 - 8.45
ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Suspended Solids: SS)มิลลิกรัมต่อลิตร< 50-0.22-39.20-2.56 - 12.33
ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solid: TDS)มิลลิกรัมต่อลิตรไม่เกิน 3,000-178-754-128- 180
สังกะสีมิลลิกรัมต่อลิตรไม่เกิน 5-<0.01 - 0.33-0.05 - 0.41
แคดเมียมมิลลิกรัมต่อลิตรไม่เกิน 0.03-< 0.01-< 0.01
ตะกั่วมิลลิกรัมต่อลิตรไม่เกิน 0.2-< 0.05-< 0.05

คุณภาพน้ำของเหมืองแม่สอด

แม้ว่าเหมืองแม่สอดได้ยุติกิจกรรมการทำเหมืองแร่ไปแล้วตั้งแต่กลางปี 2559  แต่บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการจัดการน้ำฝนตามธรรมชาติที่ไหลผ่านพื้นที่กิจกรรมการทำเหมืองและต้องไหลลงสู่บ่อกักเก็บตะกอนตามมาตรฐานการทำเหมืองที่กำหนดไว้ในแผนผังโครงการทำเหมืองแร่และมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม โดยในปี 2560 ได้ดำเนินการจัดระบบการจัดการน้ำให้ไหลล้นตามธรรมชาติ เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรองให้กับโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริในอนาคต

บ่อกักเก็บตะกอนในพื้นที่เหมืองฯ มีทั้งสิ้น 11 บ่อ สามารถรองรับปริมาณน้ำฝนในแต่ละพื้นที่ได้ทุกกรณี ในปี 2560 บริษัทฯ ได้ดำเนินการปิดถมบ่อน้ำหมุนเวียนในกระบวนการลอยแร่และดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ทั้งปลูกไม้ยืนต้นเต็มพื้นที่เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อไป และจัดการให้น้ำไหลลงบ่อกักเก็บตะกอนตามระบบ  ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้งของเหมืองแม่สอดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานดังแสดงในตาราง

หมายเหตุ : 1. มาตรฐานอ้างอิงจาก มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งกระทรวงอุตสาหกรรม
2. ไม่มีการระบายน้ำออกสู่ธรรมชาติ

การจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม

พีดีไอจัดการกากของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามหลักวิชาการและแนวปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้หลักการ 3 Rs โดยกากของเสียจะถูกคัดแยกเพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการจัดการ รวมทั้งการนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อลดปริมาณของเสียและลดการใช้ทรัพยากร ในปี 2560  มีปริมาณกากของเสียจำนวน 350,437 ตัน โดยร้อยละ 95 หรือจำนวน 330,342 ตัน เป็นกากแร่ซึ่งผ่านกระบวนการบำบัดตามมาตรฐานและมีสภาพที่เสถียรแล้วจึงนำไปฝังกลบในบ่อเก็บกากแร่ของโรงงานตากที่ออกแบบและก่อสร้างตามข้อกำหนดของกรมโรงงานอุตสาหกรรมและสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สำหรับของเสียอันตรายจำนวน 2,078 ตัน หรือร้อยละ 0.6 นำไปฝังกลบโดยหน่วยงานภายนอกที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม  ของเสียที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่มีจำนวน 1,163 ตัน ส่งขายให้ผู้รับชื้อที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม  ส่วนขยะมูลฝอยทั่วไปมีปริมาณ 161  ตัน  นำไปฝังกลบในหลุมฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล

แผนการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเหมืองแม่สอด

พื้นที่โครงการเหมืองแม่สอดของพีดีไอมีจำนวนทั้งหมด 2,078 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่ใช้ในกิจกรรมการทำเหมืองแร่ที่ต้องรักษาธรรมชาติดั้งเดิมไว้จำนวน 435 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของพื้นที่โครงการทั้งหมด และอีกร้อยละ 79  หรือจำนวน 1,643 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ใช้ในกิจกรรมการทำเหมืองแร่ที่ต้องฟื้นฟูสภาพแวดล้อมภายหลังสิ้นสุดกิจกรรมการทำเหมืองแร่แล้ว โดยบริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 2536 ต่อเนื่อง แม้เหมืองแม่สอดได้หยุดการผลิตแร่มาตั้งแต่เมื่อกลางปี 2559 พีดีไอยังคงดำเนินงานฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ที่เหลือให้เสร็จสมบูรณ์เพื่อการส่งมอบคืนพื้นที่ให้กับกรมป่าไม้

ณ สิ้นปี 2560 พีดีไอได้ดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ไปแล้ว 1,530 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 93 ของพื้นที่เป้าหมายฟื้นฟูทั้งหมด  โดยใช้งบประมาณแล้ว 110 ล้านบาท จากเงินกองทุนเพื่อพัฒนาการฟื้นฟูสภาพเหมืองผาแดงซึ่งได้ตั้งไว้จำนวน 114 ล้านบาท ทั้งนี้แผนการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมจะเสร็จสมบูรณ์ภายในกรกฎาคม 2561

บริษัทฯ ได้ใช้หญ้าแฝกเป็นพืชคลุมดินเพื่อลดการชะล้างพังทลายของดินและเพื่อปรับปรุงคุณภาพดินก่อนการปลูกไม้ยืนต้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  ตั้งแต่เริ่มฟื้นฟูสภาพแวดล้อมมาจนถึงสิ้นปี 2560 บริษัทฯ ได้ปลูกไม้ยืนต้นแล้วประมาณ 200,000 ต้น และหญ้าแฝกประมาณ 25 ล้านต้น ส่งผลให้เหมืองแม่สอดของพีดีไอเป็นแหล่งปลูกหญ้าแฝกที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ และเป็นเหมืองแร่ต้นแบบที่นำมาหญ้าแฝกมาใช้ในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมอย่างจริงจัง จนได้รับรางวัลสถานประกอบการเหมืองแร่สีเขียวติดต่อกันหลายปี และได้รับรางวัล The King of Thailand’s Certificate of Excellence ด้านการส่งเสริมและการใช้งานระบบหญ้าแฝกดีเด่น ประเภทการใช้งานระบบหญ้าแฝก จากมูลนิธิชัยพัฒนา โดยเข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี 2558  นอกจากนี้เหมืองแม่สอดยังเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านงานฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา ตลอดจนองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

สำหรับพื้นที่ที่ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว บริษัทฯ จะทยอยส่งมอบให้โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรที่พระราชทานให้กับนายอาสา สารสิน ประธานกรรมการบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด(มหาชน) เมื่อปี 2546

การพัฒนาพื้นที่โครงการเหมืองแร่ให้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับ “โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม” ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2558 โดยมีกรมป่าไม้เป็นผู้ดำเนินการหลัก และมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เป็นผู้ประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป

ต่อมาปี 2559 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับแนวทางการพัฒนาพื้นที่กิจกรรมเหมืองที่ผ่านการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมแล้วให้เป็นศูนย์การพัฒนาและแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ ตามที่นายอาสา สารสิน ประธานกรรมการ บริษัทฯ  ได้กราบบังคมทูลเกี่ยวกับการดำเนินการของเหมืองผาแดงที่จะยุติการทำเหมืองในปี 2559 พร้อมทั้งขอพระราชทานอนุญาตน้อมเกล้าฯ ถวายเรือนรับรองที่ประทับและอาคารโดยรอบ และแนวทางการพัฒนาพื้นที่กิจกรรมเหมืองที่ผ่านการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมแล้วให้เป็นศูนย์การพัฒนาและแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ อันประกอบด้วยแนวทางต่างๆ ดังนี้

  • ศูนย์อบรมสัมมนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  • พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่สังกะสีดอยผาแดง
  • ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ
  • ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าและพืชท้องถิ่น
  • ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
  • สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศและแหล่งนันทนาการ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจในเขตพื้นที่จังหวัดตาก ระหว่างวันที่ 19-22 ธันวาคม 2559 ในการนี้ มีพระราชดำริในพื้นที่โครงการฯ สรุปความว่า “ขอให้ดำเนินการรวบรวมพรรณไม้และจัดทำสวนพฤกษศาสตร์เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและผู้ที่สนใจศึกษาต่อไป”

สำหรับพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่สังกะสีดอยผาแดง ซึ่งบริษัทฯ รับผิดชอบและอยู่ระหว่างดำเนินการนั้น บริษัทฯ ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการออกแบบทางสถาปัตยกรรมทั้งภายในและภายนอก ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 29  ไร่ โดยจะนำเสนอประวัติความเป็นมาของพื้นที่และวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น ข้อมูลวิชาการด้านธรณีวิทยา การสำรวจแหล่งแร่ ประโยชน์ของการทำเหมืองแร่และถลุงโลหะสังกะสีต่อการพัฒนาประเทศ กระบวนการทำเหมืองและการถลุงแร่สังกะสีที่ครบวงจร การฟื้นฟูสภาพพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแล้วให้คืนสู่สภาพป่าที่สมบูรณ์ตามแนวพระราชดำริ รูปแบบการนำเสนอจะประกอบด้วย ชุดข้อมูลความรู้ แผนภูมิ แผนที่ ภาพถ่าย แบบจำลอง วัตถุจัดแสดง รวมทั้งการนำเทคโนโลยีสื่อผสมผสาน เพื่อให้มีความน่าสนใจมากขึ้น พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่สังกะสีดอยผาแดงจะเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้กับเยาวชน นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจโดยทั่วไป การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ จะแล้วเสร็จภายในปี 2561 และส่งมอบให้กับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการดูแลพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่สังกะสีดอยผาแดงต่อไป

บริษัทฯ ยังได้ดำเนินการก่อสร้างเจดีย์พระธาตุดอยผาแดงในปี 2560 โดยได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วกว่าร้อยละ 80 ตั้งอยู่บนเนินเขาที่ใช้เป็นสถานที่เก็บกองดินจากการทำเหมืองซึ่งได้ผ่านการฟื้นฟูสภาพพื้นที่แล้ว เจดีย์ดังกล่าวได้รับการออกแบบโดยสำนักงานศิลปากรที่ 6 จังหวัดสุโขทัย ส่วนพระพุทธรูปที่จะประดิษฐานภายในเจดีย์จะจัดสร้างขึ้นโดยความร่วมมือของวัดและชุมชนท้องถิ่น  เพื่อเป็นศูนย์รวมทางจิตใจและความร่วมมือของชุมชน คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2561 แล้วจะส่งมอบให้กรมป่าไม้และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันดูแลบำรุงรักษาและอำนวยความสะดวกในการประกอบศาสนกิจและการสักการะเจดีย์พระธาตุดอยผาแดงของประชาชนต่อไป