พีดีไอให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนธุรกิจให้ยั่งยืน จึงดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดเพื่อปกป้อง ลดผลกระทบและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของพีดีไอในปี 2559 มีความสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ขององค์กรในช่วงการปรับเปลี่ยนธุรกิจ ดังนี้

  • บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
  • ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการยุติธุรกิจสังกะสี เพื่อบริหารจัดการอย่างเหมาะสมและเป็นไปตามกฎระเบียบของราชการ
  • ใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดในโครงการธุรกิจใหม่เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและ ลดผลกระทบและความเสี่ยงต่อชุมชน

ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม

ในปี 2559 พีดีไอบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในทุกพื้นที่ปฏิบัติการเป็นไปตามแผนงานและเป้าหมาย ซึ่งดำเนินการอย่างสอดคล้องกับมาตรฐานสากลและตามข้อกำหนดของราชการในทุกกระบวนการทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานของพีดีไอไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนรอบข้างและเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ ได้แก่ การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์พลังงาน การติดตามและประเมินคุณภาพดิน น้ำ อากาศ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการบริหารจัดการของเสีย

การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

พีดีไอได้พัฒนาคุณภาพแร่สังกะสีจากที่มีเนื้อโลหะสังกะสีต่ำกว่าร้อยละ 9 ให้เป็นหัวแร่ที่มีเนื้อโลหะสังกะสีสูงถึงร้อยละ 46 โดยผ่านกระบวนการลอยแร่ ทั้งนี้เพื่อใช้แร่อย่างคุ้มค่า โดยเป็นแร่จำนวนสุดท้ายที่จะส่งป้อนโรงถลุงสังกะสี

การอนุรักษ์พลังงาน

ในปี 2559 พีดีไอใช้พลังงานรวมทั้งสิ้น 1,556,947 กิกะจูล โดยเป็นพลังงานไฟฟ้า 1,170,276 กิกะจูล และพลังงานความร้อนจากเชื้อเพลิง 386,671 กิกะจูล ลดลงจากปี 2558 จำนวน 22,769 กิกะจูล เนื่องจากการหยุดกระบวนการล้างแร่สังกะสีออกไชด์ที่โรงงานระยอง ขณะที่โรงงานตากมีการใช้พลังงานรวมลดลง ซึ่งเป็นผลจากการบริหารจัดการช่วงเวลาการใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดยลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงอัตราค่าไฟฟ้าสูง (on-peak rate) ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตของโรงงาน

ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการติดตามและประเมินผลคุณภาพดิน น้ำและอากาศ

รวมทั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการจัดการของเสียให้เป็นไปตามเกณฑ์ทั้งด้านเทคนิคและมาตรฐานการประเมินผลซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง

คุณภาพอากาศที่ปล่องควัน

ปล่องควัน สำนักงาน พารามิเตอร์ หน่วย มาตรฐาน ผลตรวจวัดปี 2559
กระบวนการผลิตกรดกำมะถัน พีดีไอ-ตาก ก๊าซชัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ส่วนในล้านส่วน ไม่เกิน 500 2361
กระบวนการผลิตแคลไซน์ พีดีไอ-ระยอง ก๊าซชัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ส่วนในล้านส่วน ไม่เกิน 500 1552
หม้อไอน้ำ (Coal fired boiler) พีดีไอ-ตาก ก๊าซชัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ส่วนในล้านส่วน ไม่เกิน 700 1271
พีดีไอ-ตาก ฝุ่นรวมทั้งหมด (Total suspended particulate) มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ไม่เกิน 320 2111
เตาหลอมโลหะสังกะสี พีดีไอ-ตาก ฝุ่นรวมทั้งหมด (Total suspended particulate) มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ไม่เกิน 400 11.501

หมายเหตุ : 1. ตรวจวัดโดย บริษัท บริษัท เอส.พี.เอส. คอนซัลติ้ง เซอร์วิส จำกัด
2. ตรวจวัดโดย บริษัท อีสเทิร์นไทยคอนซัลติ้ง 1992 จำกัด

คุณภาพอากาศในบรรยากาศ

พารามิเตอร์ สำนักงาน หน่วย มาตรฐาน ผลตรวจวัดปี 2557
ก๊าซชัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) พีดีไอ-ตาก มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ไม่เกิน 0.30 0.011
ก๊าซชัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) พีดีไอ-ระยอง ส่วนในล้านส่วน ไม่เกิน 0.30 0.022
ฝุ่นรวมทั้งหมด(TSP)ห พีดีไอ-ตาก มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ไม่เกิน 0.33 0.059
ฝุ่นรวมทั้งหมด(TSP) พีดีไอ-ระยอง มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ไม่เกิน 0.33 0.016/td>
ฝุ่นรวมทั้งหมด(TSP) พีดีไอ-แม่สอด มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ไม่เกิน 0.33 0.040-0.289
ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า10 ไมครอน(PM-10) พีดีไอ-แม่สอด มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ไม่เกิน 0.12 0.017-0.098

หมายเหตุ : 1. มาตรฐานก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศ เฉลี่ย 24 ชั่วโมง
2. มาตรฐานก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศ เฉลี่ย 1 ชั่วโมง

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การระบายก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่ของพีดีไอเกิดจากการใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากเชื้อเพลิงต่างๆ ในกระบวนการถลุงโลหะสังกะสี ในปี 2559 พีดีไอปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 219,529 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ลดลงจากปี 2558 จำนวน 2,066 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือลดลงร้อยละ 1

น้ำใช้

พีดีไอมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยลดการสูญเสียและนำกลับมาใช้ใหม่ทั้งการใช้น้ำในอาคารและในกระบวนการผลิตโรงงานตากและโรงงานระยอง ส่วนการบริหารจัดการน้ำของเหมืองแม่สอดจะเป็นการจัดการน้ำฝนที่ไหลผ่านพื้นที่กิจกรรมทำเหมืองเป็นหลัก

คุณภาพน้ำของโรงงาน

ในปี 2559 พีดีไอมีปริมาณการใช้น้ำในโรงงานรวม 1.68 ล้านลูกบาศก์เมตร และร้อยละ 47 สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ในกระบวนการผลิตและในพื้นที่อื่นๆ

สำหรับน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วจะผ่านการตรวจสอบคุณภาพให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ดังแสดงในตาราง

พารามิเตอร์​​ หน่วย มาตราฐาน พีดีไอ-ตาก พีดีไอ-ระยอง
ความเป็นกรด ด่าง (pH) - 5.5 - 9 7.57 7.74
สังกะสี (Zn) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน 5 0.21 0.43
แคดเมียม (Cd) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน 0.03 0.005 < 0.001
แมงกานีส (Mn) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน 5 0.39 -
ตะกั่ว (Pb) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน 0.2 0.005 0.004
อาร์เซนิก (As) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน 0.25 0.007 0.125
ปรอท (Hg) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน 0.005 0.0007 0.0034

การบริหารจัดการน้ำของเหมืองแม่สอด

เหมืองแม่สอดเป็นเหมืองเปิดแบบขั้นบันไดและไม่มีการใช้น้ำในกระบวนการทำเหมือง แต่พีดีไอให้ความสำคัญกับการจัดการน้ำฝนตามธรรมชาติที่ไหลผ่านพื้นที่กิจกรรมการทำเหมืองและต้องไหลลงสู่บ่อกักเก็บตะกอนตามมาตรฐานการทำเหมืองที่กำหนดไว้ในแผนผังโครงการทำเหมืองแร่และมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งจัดการน้ำให้ใสโดยอ้างอิงตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อนระบายออกสู่ธรรมชาติ

บ่อกักเก็บตะกอนในพื้นที่โครงการฯ มีทั้งสิ้น 11 บ่อ สามารถรองรับปริมาณน้ำฝนในแต่ละพื้นที่ได้ทุกกรณี พีดีไอยังนำน้ำฝนที่กักเก็บไว้มาใช้ในการกระบวนการลอยแร่ซึ่งเป็นระบบปิด (Close System) โดยไม่มีการปล่อยน้ำที่ผ่านกระบวนการลอยแร่ออกสู่ภายนอก แต่จะหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งเป็นการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

ในปี 2559 ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้งของเหมืองแม่สอดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานดังแสดงในตาราง

พารามิเตอร์ หน่วย มาตรฐาน1 จุดระบายน้ำ
A4 B3 C12 D3
ความเป็นกรด ด่าง (pH) - 5.5 - 9 7.37 - 7.86 7.88 - 8.41 - 7.83 - 8.28
ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Suspended Solids: SS) มิลลิกรัมต่อลิตร < 50 2.4 - 11.1 2.9 - 27.4 - 2.0 - 13.7
ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solid: TDS) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน 3,000 104 - 160 504 - 816 - 122 - 252
สังกะสี มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน 5 0.05 - 0.09 <0.01 - 0.58 - 0.02 - 0.33
แคดเมียม มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน 0.03 < 0.01 < 0.01 - 0.01 - < 0.01 - 0.01
ตะกั่ว มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน 0.2 < 0.05 < 0.05 - 0.18 - < 0.05

หมายเหตุ : 1. มาตรฐานอ้างอิงจาก มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งกระทรวงอุตสาหกรรม
2. ไม่มีการระบายน้ำออกสู่ธรรมชาติ

การจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม

พีดีไอจัดการกากของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามหลักวิชาการและแนวปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้หลักการ 3 Rs โดยกากของเสียจะถูกคัดแยกเพื่อสะดวกและปลอดภัยในการจัดการ รวมทั้งการนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อลดปริมาณของเสียและลดการใช้ทรัพยากรในอนาคต

ในปี 2559 มีปริมาณกากของเสียจำนวน 613,456 ตัน โดยร้อยละ 99.73 หรือจำนวน 611,782 ตัน เป็นกากแร่ซึ่งผ่านกระบวนการบำบัดตามมาตรฐานและมีสภาพที่เสถียรแล้วจึงนำไปฝังกลบในบ่อเก็บกากแร่ของโรงงานตากที่ออกแบบและก่อสร้างตามข้อกำหนดของกรมโรงงานอุตสาหกรรมและสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สำหรับของเสียอันตรายจำนวน 1,459 ตัน หรือร้อยละ 0.24 นำไปฝังกลบโดยหน่วยงานภายนอกที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีของเสียที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่จำนวน 33 ตัน ส่งขายให้ผู้รับชื้อที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนขยะมูลฝอยทั่วไปมีปริมาณ 164 ตัน นำไปฝังกลบในหลุมฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล

ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการยุติธุรกิจสังกะสี

พีดีไอมั่นใจว่า การยุติการผลิตสังกะสีในกระบวนการผลิตแบบเดิมจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรอบข้างในทุกพื้นที่ปฏิบัติการของพีดีไอ ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินงานตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดในทุกพื้นที่ พร้อมทั้งมีการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง

เมื่อยุติการผลิตแร่ที่เหมืองแม่สอดในช่วงกลางปี 2559 พีดีไอได้ดำเนินงานฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ที่เหลือให้เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยปกป้องการชะล้างพังทลายของหน้าดินและสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กลับคืนสู่ป่า โดยบ่อกักเก็บตะกอนที่รองรับน้ำฝนจะสามารถใช้ประโยชน์ได้ต่อไป สำหรับพื้นที่บ่อกักเก็บตะกอนหางแร่จะถูกฝังกลบตามมาตรฐานความปลอดภัยที่ราชการกำหนดไว้ พร้อมทั้งปลูกไม้ยืนต้นเต็มพื้นที่ดังกล่าว สร้างสีสันแห่งธรรมชาติเมื่อสถานที่แห่งนี้ได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อไป

สำหรับโรงงานระยองเมื่อปิดดำเนินการในปลายปี 2559 พีดีไอคาดว่าจะใช้เวลาครึ่งปีในการย้ายเครื่องจักร พร้อมทั้งทำความสะอาดและฟื้นฟูพื้นที่ต่างๆ ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของราชการและเป็นไปตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

นำเทคโนโลยีที่ดีที่สุดต่อการปกป้อง

ลดผลกระทบและลดความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนมาใช้ในโครงการธุรกิจใหม่

พีดีไอให้ความสำคัญต่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีสะอาดมาใช้โครงการธุรกิจใหม่เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมหรือสร้างผลกระทบน้อยที่สุด

โครงการร่วมลงทุน พีดีไอ-ซีอาร์ที ได้ใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ใช้อุณหภูมิสูงมากเป็นพิเศษ หรือ Ultra-high-temperature จากประเทศสวีเดน สามารถสกัดสังกะสีและโลหะอื่นๆ ออกจากกากอุตสาหกรรมและเป็นเทคโนโลยีที่ยังไม่มีการนำมาใช้ในเอเชีย